งานประเพณีชนสามเผ่าชาวศรีธาตุ

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

วัดเก่าสิมโบราณและตำนานองวัดป่าแมว ศรีธาตุเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่มีความเก่าแก่ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอย่างยาวนาน สิมเก่าวัดโบราณที่วัดป่าแมว คือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทำให้เราได้รับรู้ ท่านใดสายโบราณคดี วัดนี้ควรมาสัมผัสสักครั้งนะครับ อยากให้มาชมด้วยตาจริงๆ

#เรื่องเล่าวัดป่าแมว เมื่อครั้งสมัยทวาราวดีซึ่งเป็นยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ชาวขอมเมืองเป็งจางนครราช (ปัจจุบันเป็นจังหวัดนครราชสีมา) ได้มุ่งหน้าจะไปภูกำพร้าเพื่อจะไปร่วมสร้างพระธาตุพนม โดยหวังจะน้ำเอาทรัพย์สมบัติที่นำมานั้นไปบรรจุไว้ที่องค์พระธาตุพนม แต่พอเดินทางมาถึงหนองขี้หูด (ปัจจุบันเรียกว่า บึง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือตรงข้ามกันวัดป่าแมวในปัจจุบัน) ได้ทราบข่าวว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จและได้ปิดช่องบรรจุวัตถุหมดทุกช่องแล้ว ชาวเมืองเป็งจางนครราชจึงได้หยุดพักที่ริมฝั่งหนองขี้หูดทางทิศเหนือและได้ตกลงกันสร้างพระธาตุขึ้นทางฝั่งทิศเหนือของหนองขี้หูด เพื่อบรรจุสมบัติและวัตถุโบราณต่าง ๆ ที่นำมา วัสดุที่ใช้ก่อสร้างในยุคนั้นคือ ใช้ดินเผาเป็นอิฐวางต่อเรียงรายกันขึ้นโดยใช้ยางไม้เป็นตัวเชื่อมอิฐให้ยึดติดกัน เมื่อสร้างเสร็จแล้วปรากฏว่าองค์พระธาตุที่สร้างได้นั้นเล็กเกินที่จะบรรจุสมบัติที่นำมาได้หมดเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า “พระธาตุน้อย” (สถานที่ตั้งของพระธาตุน้อยนี้ต่อมาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านจำปี) ปัจจุบันจึงเรียกว่า "โนนโรงเรียน" ในช่วงหนึ่งของประวัติการสร้างวัด พระธาตุน้อยได้หักพังลงมาจึงได้มีการขุดค้น โดยพระอาจารย์ตึ๊ (อ่อนตา) ได้ค้นพบพระพุทธรูปทองคำและทองสัมฤทธิ์มากมาย พระพุทธรูปที่ขุดพบองค์ใหญ่ที่สุดเป็นพระพุทธรูปหินแกะสลักขนาดหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 43 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดป่าแมว และชาวเมืองเป็งจานนครราช จึงได้ตกลงกันสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นให้ใหญ่กว่าองค์แรก โดยยึดทางทิศใต้ของหนองขี้หูดที่เป็นเกาะมีน้ำรอบ (ที่ตั้งวัดปัจจุบัน) ใช้อิฐและยางไม้เป็นวัสดุเช่นกัน คนเฒ่าคนแก่ที่เล่าต่อ ๆ กันว่า ในองค์พระธาตุปืนบรรจุไว้ 1 กระบอก ในวันดีคืนดีจะโผล่ปากกระบอกออกมาภายนอกให้เห็นอยู่เนือง ๆ เมื่อมีการขุดคันในภายหลังพบ ปืนสั้น โปกปูน (ที่ตำหมาก) และแมวทองคำ ของสามสิ่งนี้ทำด้วยทองคำล้วน เมื่อสร้างพระธาตุเสร็จทั้งสององค์แล้ว ชาวเป็งจานก็แบ่งออกเป็นสองกลุ่มกลุ่มหนึ่งกลับไปบ้านเมืองเดิม อีกกลุ่มหนึ่งสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่ที่ทิศเหนือของหนองขี้หูดชื่อบ้านธาตุน้อยและชาวบ้านธาตุน้อยนี้ได้สร้างวัดและสิมมา (เสมา) ขึ้นแต่ไม่ปรากฎชื่อวัดอีกทั้งยังสร้างสะพานไม้ขึ้นเพื่อข้ามไปมาระหว่างบ้านวัดด้วย (ในต้นยุคของอาจารย์ตึ๊ยังเห็นซากไม้และเสาสะพานปรากฎอยู่) ต่อมาบ้านธาตุน้อยถูกภัยน้ำท่วมหลายครั้งจึงพากันอพยบไปอยู่ที่อื่น ปล่อยให้วัดและหมู่บ้านร้าง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 ราษฎรจากบ้านพันลำได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานและหักร้างถางพงได้พบเนินดินร้างซึ่งมีพระธาตุ และมีเสมาหินสลักเป็นรูปดอกบัว ปักเรียงรายอยู่โดยรอบ บนใบเสมายังมีอักษรโบราณจารึกไว้ 2 แถว ( สูญหาย ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 มีพระภิกษุจากบ้านท่าคันโทได้ธุดงค์มาพบวัดร้างนี้จึงได้อยู่จำพรรษา ภายหลังชาวบ้านจึงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างวัดขึ้นใหม่ ได้สร้างพระอุโบสถหลังแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2464
จากหลักฐานที่ได้ค้นพบในหนังสือประวัติศาสตร์โบราณคดีอีสาน ได้กล่าวไว้ว่า วัดศรีธาตุประมัญชา เป็นแหล่งเสมาหินที่ได้ค้นพบเป็นแห่งแรก โดยอาจารย์มานิต วัลลิโภคม ได้ไปสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2502 อยู่ในบริเวณบ้านจำปี ตำบลบ้านท่าไฮ กิ่งอำเภอศรีธาตุ แต่ได้มีผู้เคลื่อนย้ายนำเสมาเหล่านั้นมาเก็บไว้เสีย ในเขตวัดศรีธาตุประมัญชา จึงไม่อาจทราบลักษณะการปักเสมาเหล่านั้นได้
ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมศิลปกรและศาสตราจารย์ Wilhelm G. Solheim ได้เดินทางมาสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ได้มีการนำไปจารึกไปศึกษาตัวอักษร ณ ประเทศฝรั่งเศส และ ได้ทำรายงานการสำรวจบริเวณและนำเอาคำแปลศิลาจารึกมาพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2507 ได้ความว่าหลักหินนี้ “พราหมณ์” ได้ทำพิธีตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักกำหนดเขตของของพระภิกษุสงฆ์ศักราชที่มีอยู่ในจารึกประมาณได้ราว พ.ศ. 1154-1214 หรือไม่ก็ 1276 (Ibid, 181) การพบศิลาจารึกหลักนี้นับว่ามีประโยชน์มากเพราะเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันกับเสมาหินที่พบในบริเวณเดียวกัน ในเรื่องของอายุอย่างไม่ต้องสงสัย ในเขตบ้านท่าไฮ ศาสตราจารย์ Solheim และคณะพบเสมาหินปักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบบริเวณหนึ่งซึ่งกว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร เสมาที่พบมีสองแบบ แบบแรกเป็นแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม กว้างราวด้านละ 40 เซนติเมตร และสูงราว 70-100 เซนติเมตร มีทั้งหมด 6 หลัก บางหลักมีรูปบัวสลักรอบฐา

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

ศรีธาตุพยานรัก  วรรณกรรมพื้นบ้านอำเภอศรีธาตุ

  นานมาแล้ว ยังมีนางแมวป่าตัวหนึ่งถือศีลและอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ ได้เสาะหาผลไม้ในป่านำมาถวายท้าวเวสสุวัณ (เป็นเทพเจ้าผู้พิทักษ์โลกของชาวพุทธโบราณ เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ภูตผีปีศาจและความมั่งคั่งไพบูลย์ เป็นเทวดาประจำทิศอุดร) อยู่เป็นประจำด้วยความศรัทธาและเคารพ ท้าวเวสสุวัณได้เล็งเห็นคุณงามความดีของนางแมวป่าที่ประกอบแต่กรรมดี พระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อนางมาก จึงได้พระราชทานพรให้นางหลุดพ้นจากร่างเดิมซึ่งเป็นแมว ให้กลับเป็นร่างมนุษย์เป็นหญิงสาวที่กอปรไปด้วยความงามทั้งกาย วา และจิตใจ ยากที่จะหาสาวใดในโลกนี้ที่จะมาเปรียบเทียบกับความงามของนางได้ พร้อมกับพระราชทานนามให้นางใหม่ว่า “ศรี” หมายถึงสิริมงคล ความรุ่งเรืองความงาม ความเจริญ และอวยพรให้นางจงปฏิบัติแต่คุณงามความดีอย่างเสมอต้นเสมอปลายชีวิตในวันข้างหน้าจะเจริญรุ่งเรืองสืบไป
ในชุมชนบ้านเดื่อยังมีชายหนุ่มรูปงามนามว่า “จำปี” เป็นกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่เยาว์วัย แม้จะอยู่ในสภาพยากจนและตกระกำลำบากเพียงใด จำปีก็ไม่เคยท้อแท้ในชีวิตมุ่งมั่นประกอบแต่คุณงามความดีตลอดมา วันหนึ่งวิญญาณของพ่อแม่ของจำปีได้มาเข้าฝัน เพื่อบอกลาไปเกิดใหม่ในสรวงสวรรค์และบอกให้ลูกไปขุดใต้โคนมะเดื่อใหญ่ที่อยู่ในสวนหลังบ้านจะพบ “เรือทองคำกายสิทธิ์” ขนาดเล็กมากซุกซ่อนอยู่ในใต้โคนต้นมะเดื่อ เรือทองคำกายสิทธิ์ดังกล่าวเป็นของคู่บุญบารมีของผู้มีบุญเท่านั้น เรือลำนี้สามารถขยายให้เป็นเรือลำใหญ่หรือให้เล็กลงได้ตามคำอธิษฐานของผู้เป็นเจ้าของ  และสามารถเหาะเหินบนท้องฟ้าได้อีกด้วยเมื่อตื่นขึ้นจึงได้ไปขุดตามที่ฝันก็พบเรือทองคำดังกล่าวตามความฝันทุกอย่าง ทำให้จำปีดีใจเป็นอย่างยิ่ง จึงนำเรือทองคำดังกล่าวเก็บไว้ในย่ามอย่างมิดชิด
คงเป็นบุบเพสันนิวาสของจำปีและศรีที่เคยทำบุญร่วมกันมาแต่ปางก่อน จึงดลบันดาลให้หนุ่มสาวทั้งสองได้พบกันวันหนึ่งจำปีได้ออกไปหาฟืนและเก็บผลไม่ไว้เป็นอาหารก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องขอความช่วยเหลือ จึงเข้าไปดูเห็นเสือโคร่งกำลังวิ่งไล่ศรีอยู่ จึงเข้าช่วยเหลือและต่อสู้กับเสือโคร่งจนสิ้นใจตาย ส่วนจำปีก็บาดเจ็บจากการต่อสู้จนแทบเอาชีวิตไม่รอดเหมือนกัน ศรีรู้สึกสำนึกในบุญคุณที่จำปีได้ช่วยเหลือชีวิตนางให้รอดตายในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง จึงช่วยจัดหายามาเพื่อทำการรักษาบาดแผลให้กับจำปี ในเวลาต่อมาคนทั้งสองก็สนิทสนมกันจนกลายเป็นความรัก และตัดสินใจใช้ชีวิตคู่สามีภรรยากันอย่างมีความสุข
กล่าวถึงท้าวอุตตะราช ผู้ครองเมืองอุตตะ ได้เสด็จออกประพาสป่าผ่านมาทางป่ามะเดื่อได้พบจำปี และศรีเกิดความพอใจและหลงไหลในรูปโฉมของศรีภรรยาจำปีเป็นอย่างยิ่ง จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ศรีมาเป็นภรรยาของตัวเอง จนเกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงนางศรีขึ้น จำปีต่อสู้กับกำลังทหารของท้าวอุตตะราชไม่ได้ จึงบอกให้ภรรยาขึ้นเรือทองคำกายสิทธิ์หนีไปก่อนและตัวเองก็ถูกจับไปเพื่อเป็นเหยื่อล่อให้นางศรีมาช่วยสามีต่อไป นางศรีได้ไปขอความช่วยเหลือจากท้าวเวสสุวัณแต่ก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้ ท้าวเวสสุวัณจึงได้แต่ปลอบใจนางว่า มันเป็นกรรมเก่าของคนทั้งสองที่ยังไม่หมดสิ้น ทุกอย่างย่อมดำเนินไปตามกฎแห่งกรรม ไม่มีใครสามารถหลีกเลี้ยงได้จึงขอให้นางเอาธรรมะเข้าช่วยและอดทนแล้วทุกอย่างจะคลี่คลายไปเอง
นางศรีจึงได้ลาท้าวเวสสุวัณขึ้นเรือทองคำกายสิทธิ์เพื่อกลับมาช่วยเหลือสามี โดยเสนอเงื่อนไขว่าให้ปล่อยสามีของนาง แล้วนางจะยอมทำตามความต้องการของท้าวอุตตะราชทุกอย่าง จำปีเห็นว่าภรรยาจะเสียท่าท้าวอุตตะราช เพราะไม่มีประโยชน์ที่นางศรีจะมาช่วยเหลือเขา เนื่องจากเขาได้รับบาดเจ็บจากการถูกทรมานอย่างแสนสาหัส และจำปีรู้ตัวดีว่าคงไม่รอดแน่ จึงตัดสินใจเอาศีรษะพุ่ง      เข้าชนกำแพงอย่างแรงจนสิ้นใจตาย ทำให้นางศรีเสียใจอย่างมาก จึงค่อย ๆ ร่อนเรือทองคำกายสิทธิ์ลงมาหาศพของสามีอย่างเหม่อลอย แล้วเสนอเงื่อนไขให้ท้าวอุตตะราชว่า ก่อนที่นางจะตกลงปลงใจกับท้าวอุตตะราชนั้นขอให้จัดการพิธีศพสามีของนางให้เรียบร้อยก่อน โดยขอให้สร้างธาตุขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของสามีนางก่อนเพื่อความสบายใจของนาง และเป็นการขอขมาต่อสามีที่ตายไป ท้าวอุตตะราชยอมทำตามที่นางขอ จึงได้ระดมช่างฝีมือดีเป็นจำนวนมากกาก่อธาตุเป็นการใหญ่จนแล้วเสร็จนางศรี จึงแกล้งทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับท้าวอุตตะราช คือยอมแต่งงานด้วย และได้ชวนให้ท้าวอุตตะราช ขึ้นเรือทองคำกายสิทธิ์ พอได้โอกาสจึงผลักท้าวอุตตะราชให้ตกลงมาจนถึงแก่ความตาย ท่ามกลางความตกตะลึงของเหล่าเสนาอำมาตย์และชาวเมืองอุตตะราช นางศรีจึงนำเรือเหาะทองคำกายสิทธิ์ลงสู่พื้นดินหน้าธาตุ ที่เก็บอัฐิของสามี อธิษฐานต่อท้าวเวสสุวัณและเทพยดาอินทร์พรหมตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สิงสถิตย์อยู่บนพื้นพิภพ ขอยึดมั่นในรักเดียวใจเดียวและขอตายตามสามีเพื่อให้ความรักของนางเป็นอมตะตราบนานเท่านาน พออธิษฐานเสร็จนางก็กลั้นใจตายตามสามีแล้วร่างของนางก็กลายเป็นแมวทองคำเคียงข้างกับเรือทองคำกายสิทธิ์อยู่ที่พระธาตุประมัญชาตั้งแต่นั้นมา ผู้รวบรวมสันนิษฐานว่าเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดี และมีใจซื้อสัตย์ต่อผู้เป็นภรรยา ชาวบ้านจึงได้นำชื่อของจำปี  มาตั้งเป็นชื่อตำบล “จำปี” ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอศรีธาตุ และเพื่อแสดงถึงความรักที่เป็นอมตะของ “ศรี” จึงได้นำมารวมกับคำว่า “ธาตุ” ที่เก็บอัฐิของจำปี ผู้เป็นสามีตั้งเป็นชื่ออำเภอว่า “ศรีธาตุ” มาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันองค์พระธาตุประมัญชาอยู่ที่วัดศรีธาตุประมัญชา (ป่าแมว) บ้านหนองแวง  ตำบลจำปี  อำเภอศรีธาตุ  ห่างจากอำเภอศรีธาตุ  ๖  กิโลเมตร  เป็นศิลปะแบบล้านช้าง และกรมศิลากรได้บูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๓๙  ตามแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การพัฒนาระบบ
1. การสำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation)
         ป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ สิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ในการดำเนินงาน และประมาณการของค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ โดยข้อมูลที่ได้จะนำเสนอให้กับผู้บริหารของหน่วยงานเพื่อที่จะตัดสินใจว่าองค์การสมควรที่จะมีการพัฒนาระบบสารสนเทศหรือไม่ และระบบสารสนเทศทีจะพัฒนาขึ้นสมควรจะมีลักษณะเป็นเช่นไร
            สำรวจปัญหา
               สาเหตุของปัญหาจากการดำเนินงานในปัจจุบัน ความเป็นไปได้กับการสร้างระบบใหม่ การกำหนดความต้องการระหว่างผู้วิเคราะห์กับผู้ใช้งาน โดยข้อมูลเหล่านี้ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากการดำเนินงานต่างๆ ไม่สามารทราบข้อมูลในอำเภอและข้อมูลต่างๆและสถานที่ท้องเที่ยวได้ทั้งหมด
            ความเป็นไปได้
               เราสามารถลงพื้นที่ สอบถามข้อมูลในการทำงานได้ ผ่านคนในชุมชนได้ สิ่งที่นำเสนอลงไปคือข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงทั้งหมด
            ค่าใช้จ่ายในระบบ
               ยังไม่มีค่ายใช้จ่ายในระบบ แต่มีค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่
2. วิเคราะห์ความต้องการ (Requirements Analysis)
เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ การใช้งานในแต่ละด้านของระบบใหม่ ข้อเด่นและข้อด้อยของวิธีการทำงานในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดทำรายงานสรุปเพื่อนำเสนอต่อฝ่ายจัดการสำหรับทำการตัดสินใจ
            ค้นหาความต้องการผู้ใช้ การใช้งานแต่ละด้านระบบใหม่ข้อเด่นข้อด้อยเสนอฝ่ายจัดการตัดสินใจ
  เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์การดำเนินงานของระบบปัจจุบัน โดยการนำความต้องการที่ได้มาจากขั้นตอนแรกมาวิเคราะห์ในรายละเอียด เพื่อทำการพัฒนาเป็นแบบจำลองซึ่งประกอบด้วย แผนภาพข้อมูล คำอธิบายการประมวลผลข้อมูล ทำให้ทราบถึงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานในระบบว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง มีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสิ่งใด
               - ข้อเด่น ข้อมูลที่เราจัดทำลงไปเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมด
               - ข้อด้อย เราลงเพื่อนที่ไม่เป็นที่ เราไม่ค่อยทราบแหล่งข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
3. การออกแบบระบบ (System Design) 
ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ ของระบบสารสนเทศ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์ การป้อนข้อมูล กระบวนการการเก็บรักษา การปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับนำมาพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
            ออกแบบการแสดงผลลัพธ์การป้อนข้อมูล การเก็บรักษา การปฏิบัติงาน และบุคคลกร
   เป็นขั้นตอนการหาผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ มาพัฒนาให้สอดคล้อง โดยการออกแบบจะเริ่มจากส่วนของอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาพัฒนา การออกแบบจำลองข้อมูล การออกแบบรายงานบนบล็อกเกอร์ การออกแบบบล็อกเกอร์ ทวิต และเพจเฟสบุ๊ค และการออกแบบจอภาพในการติดต่อกับผู้ใช้งาน
4. จัดหาอุปกรณ์ (System Acquisition)
ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอจากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละราย เพื่อนำอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
            จัดหา Hardware และ Software
Hardware
   เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานในระบบสารสนเทศ ช่วยในการสร้างข้อมูลต่างๆในการทำงาน เช่น อุปกรณ์สำนักงานและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยฮาร์ดแวร์ที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามหน่วยการทำงาน
Software
   โปรแกรม คือชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและประมวลผลข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำงานระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร ในการทำงานต่างๆ
5. การบำรุงรักษา (System Implement and Maintenance)  
ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการด้วยตนเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้หรือไม่ นอกจากนี้การติดตั้งควรที่จะสำเร็จตามตารางที่กำหนด เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานแทนที่ระบบเก่าได้ทันเวลา นอกจากนี้ทีมงานพัฒนาระบบยังมีหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการประเมินและการบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงและบำรุงรักษาให้ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยาวนานที่สุดตลอดอายุของระบบ
               การบำรุงรักษาระบบเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการพัฒนาระบบ หลังจากที่ทำการติดตั้งระบบงานใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งระบบอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อยุคสมัยหรือปรับปรุงข้อผิดพลาดให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาระบบเป็นการยืดอายุระบบงานให้ใช้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            ทดสอบระบบไปตามวัตถุประสงค์
               การทดสอบระบบก่อนที่จะนำไปปฏิบัติการใช้งานจริง โดยจะทำการทดสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน ด้วยการสร้างข้อมูลจำลองเพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบ หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็ย้อนกลับไปในขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมใหม่
            ติดตั้งตามตารางเวลาที่กำหนด
               หลังจากที่ได้ทำการทดสอบจนมีความมั่นใจแล้วว่าระบบสามารถทำงานได้จริง และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบ จากนั้นจึงดำเนินการติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริงต่อไป
            กำหนดเกณฑ์ประเมินและบำรุงรักษา
การปรับปรุงแก้ไขระบบหลังจากที่ได้มีการติดตั้งและใช้งานแล้ว ในขั้นตอนนี้อาจเกิดปัญหาของโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้อง หรือเกิดจากความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการเพิ่มการทำงานอื่นๆ ซึ่งทั้งนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ที่เคยตกลงกันก่อนหน้า

การพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพยังต้องมีกระบวนการ หรือขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ดี ประการสำคัญทีมพัฒนาระบบต้องเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบเป็นอย่างดี เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนได้รู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานพัฒนาระบบเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
****************************************************************



แผนกลยุทธิ์ "เลาะศรีธาตุ"


1. ภารกิจ (Mission)
ให้ข้อมูล ข่าวสาร และประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP
ให้ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ให้รู้จักมากขึ้น
ให้ข้อมูลในชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญในอำเภอเรา


2. โครงร่างของบริษัท (Company profile)

3. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
จุดเด่น
     - ไม่ค่อยมีคู่แข่ง มีเพจที่เกี่ยวข้องเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่เพจถูกการปล่อยทิ้งไว้นานแล้ว ไม่มีการอัพเดตอะไรเพิ่มเติม
จุดด้อย
     - ไม่ค่อยมีกิจกรรมในเพจที่หน้าสนใจ
     - ความต่อเนื่องในการโพสน้อยไปทำให้คนไม่ค่อยสนใจและจำไม่ได้
     - ไม่ค่อยมีข้อมูล และเป็นอำเภอเล็กๆ ไม่ค่อยมีที่เที่ยว
     - โพสอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
อุปสรรค
     - เจ้าของเพจไม่ค่อยรู้สถานที่สำคัญ
     - เจ้าของเพจยังไม่รู้ข้อมูล
โอกาส
     - เนื่องจากเป็นอำเภอเล็กๆ มี 3 ตำบล 41 หมู่บ้าน อำเภอเราก็มีที่ท่องเที่ยวและน่าสนใจ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่หน้าสนใจค่อนข้างเยอะ จึงอยากให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามา 


4. การวิเคราะห์กลยุทธ์และทางเลือกของกลยุทธ์
- เน้นการใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก เพราะสามารถเผยแพร่ได้กว้างขวาง และประหยัดค่าใช้จ่าย


5.วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร
เพื่อให้ข้อมูล ข่าวสาร และประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP
- เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
เพื่อให้ข้อมูลในชุมชน และสถานที่สำคัญในอำเภอเรา


6. แผน (Plans)
กำหนดเวลาไว้ 3 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน
เดือนกรกฎาคม
     - สร้างสื่อโซเชียล เช่น เพจเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ บล็อกเกอร์ เพื่อเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์
     - อัพเดตข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆลงในโซเชียล
เดือนสิงหาคม
     - อัพเดตข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆลงในโซเชียลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความสนใจและการจดจำเพจได้
     - ให้มีกิจกรรมขึ้นในเพจเพื่อเป็นการโปรโมทให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
เดือนกันยายน
     - อัพเดตข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรมใหม่ๆลงในโซเชียล
     มีกิจกรรมมากขึ้นเพื่อทำให้คนสนใจเพจมากขึ้น เพื่อเป็นการโปรโมทให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกต่อไป


7. นโยบาย (Policies)
ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร สถานที่ท่องเที่ยว สินค้า OTOP 


8. การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation)
อัพเดตข้อมูล ข่าวสาร สถานที่ท่องเที่ยว สินค้า OTOP  

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

@สวนสาธารณะบึงคำศรี🌱🌲🌳🌴🌵🌷🌸
............................................. ... ......... ............ .
หม่องนี่ศรีธาตุเด้อ
#เที่ยวบ้านข่อย
#เลาะศรีธาตุ





แบ่งเขตการปกครอง
 เป็น 11 หมู่บ้าน
ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านศรีธาตุ , หมู่2 บ้านป่าเลา , หมู่3 บ้านคำดี , หมู่4 บ้านโคกศรี , หมู่5 บ้านห้วยวังปลา , หมู่6 บ้านกอก , หมู่7 บ้านกุดน้ำใส ,หมู่8 บ้านศรีสง่าเมือง , หมู่9 บ้านศรีสุข , หมู่10 บ้านคำศรี , หมู่11 บ้านศรีเจริญ
   การตั้งถิ่นฐานของชุมชนมนุษย์ถือเป็นการตกผลึกทางกายภาพเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย อันสอดคล้องกับวิถีชีวิต ทรัพยากร และความมั่นคงแห่งเผ่าพันธุ์ การที่กลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งจะเลือกที่อยู่อาศัยของตนและได้มีผู้คน จำนวนมากเข้ามาอาศัยรวมกันเป็นชุมชน หมู่บ้าน หรือชุมชนเมืองนั้น แหล่งที่ตั้งจะต้องมีความจำเป็นด้านปัจจัยทางสภาพแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำ พื้นที่สำหรับเพาะปลูก ป่าไม้ โคก ดอน ห้วย หนอง คลอง บึง กุด สระ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยผลักดันให้เกิดการผลิตเพื่ออุปโภคบริโภค ในชีวิตประจำวันของผู้ที่อยู่อาศัย
            เมื่อมนุษย์ได้ร่วมกันตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยขึ้น ก็มีการตั้งชื่อชุมชนไว้เรียกขาน หรือสื่อความหมายให้เข้าใจระหว่างกัน เนื่องจากชื่อนั้นเป็นนามบัญญัติที่สมมติขึ้นเรียกเพื่อให้มีความหมายถึงตัวตนหรือสถานที่อันมีอยู่จริง หรือสถานที่จำลองให้มีอยู่  ณ  ที่นั้น ๆ  ซึ่งถือเป็นแบบแผนของสังคมมนุษย์ที่ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมการเรียกชื่อมาด้วยวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่การบอกเล่าด้วยปากที่เรียกว่า มุขปาฐะ” หรือการบันทึกในรูปแบบของศิลาจารึก บทวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ชุมชน ตลอดทั้งจดหมายเหตุต่าง ๆ
            ในการตั้งชื่อบ้านนามเมืองนั้น หลักใหญ่ ๆ จะต้องอาศัยจุดเด่นทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่ปรากฏ  คือแหล่งน้ำ ภูเขา ป่าไม้ พื้นราบ หรืออื่น ๆ มาเป็นนามบัญญัติ โดยใช้ภาษาท้องถิ่นอันเป็นที่รับรู้เข้าใจร่วมกันมากำหนดเป็นชื่อ ด้วยเหตุนี้การที่จะทำให้เข้าใจชื่อบ้านนามเมืองอย่างแท้จริงก็จะต้องศึกษาค้นคว้า ตีความให้สัมพันธ์กับภาษาของท้องถิ่นเหล่านั้นด้วย
            ชื่อบ้านนามเมืองเป็นหลักฐานอีกด้านหนึ่งที่จะทำให้รับรู้ถึงสภาพการดำรงชีวิต อาชีพ เศรษฐกิจ และสังคมของกลุ่มชน ทำให้มองเห็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการเลือกตั้งถิ่นฐานอันสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต จึงนับว่าเป็นสาระที่น่าสนใจศึกษา และเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานอันสำคัญอย่างยิ่ง
    

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562


ประเพณีชนสามเผ่าชาวศรีธาตุ


      ประเพณีชนสามเผ่าชาวศรีธาตุ
      เป็นประเพณีที่มีมายาวนาน เป็นการรวมตัวกันของชาวอำเภอศรีธาตุ ที่อาศัยอยู่ด้วยกันสามเผ่า
เผ่าลาว
เผ่าญ้อ
เผ่าภูไท

ซึ่งแต่ละเผ่าอาศัยอยู่ร่วมกันในอำเภอศรีธาตุ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ประเพณีชนสามเผ่าจึงจัดขึ้นเพื่อสักการะศาลหลักเมืองอำเภอศรีธาตุ 
และเป็นการมาพบปะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละเผ่าในประเพณีนี้ด้วย 
ประเพณีชนสามเผ่าชาวศรีธาตุจะจัดขึ้นทุกๆปีเพื่อให้ลูกหลานชาวอำเภอศรีธาตุ
ได้เห็นถึงความสำคัญ และวัฒนธรรมอันมีค่า

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2562



ONE DAY TRIP



          one day trip อำเภอศรีธาตุ🏡🏡
          ใน1วันกับการมาเที่ยวอำเภอศรีธาตุจะทำให้คุณสนุก คุ้มค่า พักผ่อน อิ่มเอมใจ 
และยังอิ่มท้องด้วย ถ้าคุณมาอำเภอศรีธาตุ สถานที่แรกที่คุณจะต้องไปก็คือ "ศาลหลักเมือง"


ซึ่งศาลหลักเมืองเป็นเหมือนแลนด์มาร์คของอำเภอศรีธาตุเลยก็ว่าได้
ศาลหลักเมืองศรีธาตุเป็นสถานที่ศักดิ์ที่คู่บ้านคู่เมืองอำเภอศรีธาตุมา จึงเป็นสถานที่แรกที่จะต้องไปกราบไหว้สักการะขอพร หลังจากนั้นก็ไปสถานที่ศักดิ์ที่คู่กันมากับศาลหลักเมือง ก็คือ
"วัดศรีธาตุประมัญชาหรือวัดป่าแมว"


ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมของประชาชนชาวอำเภอศรีธาตุในการ
จัดประเพณีสงน้ำพระธาตุ ทำให้เป็นที่น่าเที่ยวอีกที่หนึ่งเลยทีเดียว
หลังจากอิ่มอกอิ่มใจกันแล้วก็ไปอิ่มท้องกัน ที่ร้านอันจังหมูกระทะ 

เป็นร้านหมูกระทะที่คู่กับศรีธาตุมานานพอสมควรเหมือนกัน เป็นร้านที่ชาวศรีธาตุนิยมเข้ากัน
อิ่มอกอิ่มใจรวมทั้งอิ่มท้อง ต่อไปเราไปพักผ่อนหย่อนใจ ไปสูดอากาศบริสุทธิ์กันเถอะ 
ไปกันที่"สวนสาธารณะบึงคำศรี

เป็นสถานที่ที่สามารถไปออกกำลังกายก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเต้นเป็นเดินเป็นวิ่ง หรือจะเป็นสถานที่ถ่ายภาพก็ได้ นั่งชมวิวก็ได้ หรือแม้กระทั่งให้อาหารปลาก็ได้อีกด้วย
และสวนสาธารณะบึงคำศรี ยังเป็นสถานที่จัดงานลอยกระทงของอำเภอศรีธาตุ ในแต่ละปีอีกด้วย
และในอำเภอศรีธาตุยังมีสถานที่อื่นๆอีกมากมาย ให้ทุกคนได้ไปเที่ยวกัน ไม่ว่าจะเป็นร้านคาเฟ่ ตลาดสด ตลาดคลองถม ศาลาสุขใจ และสถานที่อื่นๆอีกมากมาย และนี่ก็คือ one day trip ของ
อำเภอศรธาตุ อยากรู้ว่ามีดีแค่ไหนก็ลองมาเที่ยวศรีธาตุกันดูนะคะ 
""สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น""มาเที่ยวศรีธาตุกันเยอะๆน๊าาา😁😁