งานประเพณีชนสามเผ่าชาวศรีธาตุ

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

วัดเก่าสิมโบราณและตำนานองวัดป่าแมว ศรีธาตุเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่มีความเก่าแก่ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอย่างยาวนาน สิมเก่าวัดโบราณที่วัดป่าแมว คือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทำให้เราได้รับรู้ ท่านใดสายโบราณคดี วัดนี้ควรมาสัมผัสสักครั้งนะครับ อยากให้มาชมด้วยตาจริงๆ

#เรื่องเล่าวัดป่าแมว เมื่อครั้งสมัยทวาราวดีซึ่งเป็นยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ชาวขอมเมืองเป็งจางนครราช (ปัจจุบันเป็นจังหวัดนครราชสีมา) ได้มุ่งหน้าจะไปภูกำพร้าเพื่อจะไปร่วมสร้างพระธาตุพนม โดยหวังจะน้ำเอาทรัพย์สมบัติที่นำมานั้นไปบรรจุไว้ที่องค์พระธาตุพนม แต่พอเดินทางมาถึงหนองขี้หูด (ปัจจุบันเรียกว่า บึง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือตรงข้ามกันวัดป่าแมวในปัจจุบัน) ได้ทราบข่าวว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จและได้ปิดช่องบรรจุวัตถุหมดทุกช่องแล้ว ชาวเมืองเป็งจางนครราชจึงได้หยุดพักที่ริมฝั่งหนองขี้หูดทางทิศเหนือและได้ตกลงกันสร้างพระธาตุขึ้นทางฝั่งทิศเหนือของหนองขี้หูด เพื่อบรรจุสมบัติและวัตถุโบราณต่าง ๆ ที่นำมา วัสดุที่ใช้ก่อสร้างในยุคนั้นคือ ใช้ดินเผาเป็นอิฐวางต่อเรียงรายกันขึ้นโดยใช้ยางไม้เป็นตัวเชื่อมอิฐให้ยึดติดกัน เมื่อสร้างเสร็จแล้วปรากฏว่าองค์พระธาตุที่สร้างได้นั้นเล็กเกินที่จะบรรจุสมบัติที่นำมาได้หมดเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า “พระธาตุน้อย” (สถานที่ตั้งของพระธาตุน้อยนี้ต่อมาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านจำปี) ปัจจุบันจึงเรียกว่า "โนนโรงเรียน" ในช่วงหนึ่งของประวัติการสร้างวัด พระธาตุน้อยได้หักพังลงมาจึงได้มีการขุดค้น โดยพระอาจารย์ตึ๊ (อ่อนตา) ได้ค้นพบพระพุทธรูปทองคำและทองสัมฤทธิ์มากมาย พระพุทธรูปที่ขุดพบองค์ใหญ่ที่สุดเป็นพระพุทธรูปหินแกะสลักขนาดหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 43 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดป่าแมว และชาวเมืองเป็งจานนครราช จึงได้ตกลงกันสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นให้ใหญ่กว่าองค์แรก โดยยึดทางทิศใต้ของหนองขี้หูดที่เป็นเกาะมีน้ำรอบ (ที่ตั้งวัดปัจจุบัน) ใช้อิฐและยางไม้เป็นวัสดุเช่นกัน คนเฒ่าคนแก่ที่เล่าต่อ ๆ กันว่า ในองค์พระธาตุปืนบรรจุไว้ 1 กระบอก ในวันดีคืนดีจะโผล่ปากกระบอกออกมาภายนอกให้เห็นอยู่เนือง ๆ เมื่อมีการขุดคันในภายหลังพบ ปืนสั้น โปกปูน (ที่ตำหมาก) และแมวทองคำ ของสามสิ่งนี้ทำด้วยทองคำล้วน เมื่อสร้างพระธาตุเสร็จทั้งสององค์แล้ว ชาวเป็งจานก็แบ่งออกเป็นสองกลุ่มกลุ่มหนึ่งกลับไปบ้านเมืองเดิม อีกกลุ่มหนึ่งสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่ที่ทิศเหนือของหนองขี้หูดชื่อบ้านธาตุน้อยและชาวบ้านธาตุน้อยนี้ได้สร้างวัดและสิมมา (เสมา) ขึ้นแต่ไม่ปรากฎชื่อวัดอีกทั้งยังสร้างสะพานไม้ขึ้นเพื่อข้ามไปมาระหว่างบ้านวัดด้วย (ในต้นยุคของอาจารย์ตึ๊ยังเห็นซากไม้และเสาสะพานปรากฎอยู่) ต่อมาบ้านธาตุน้อยถูกภัยน้ำท่วมหลายครั้งจึงพากันอพยบไปอยู่ที่อื่น ปล่อยให้วัดและหมู่บ้านร้าง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 ราษฎรจากบ้านพันลำได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานและหักร้างถางพงได้พบเนินดินร้างซึ่งมีพระธาตุ และมีเสมาหินสลักเป็นรูปดอกบัว ปักเรียงรายอยู่โดยรอบ บนใบเสมายังมีอักษรโบราณจารึกไว้ 2 แถว ( สูญหาย ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 มีพระภิกษุจากบ้านท่าคันโทได้ธุดงค์มาพบวัดร้างนี้จึงได้อยู่จำพรรษา ภายหลังชาวบ้านจึงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างวัดขึ้นใหม่ ได้สร้างพระอุโบสถหลังแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2464
จากหลักฐานที่ได้ค้นพบในหนังสือประวัติศาสตร์โบราณคดีอีสาน ได้กล่าวไว้ว่า วัดศรีธาตุประมัญชา เป็นแหล่งเสมาหินที่ได้ค้นพบเป็นแห่งแรก โดยอาจารย์มานิต วัลลิโภคม ได้ไปสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2502 อยู่ในบริเวณบ้านจำปี ตำบลบ้านท่าไฮ กิ่งอำเภอศรีธาตุ แต่ได้มีผู้เคลื่อนย้ายนำเสมาเหล่านั้นมาเก็บไว้เสีย ในเขตวัดศรีธาตุประมัญชา จึงไม่อาจทราบลักษณะการปักเสมาเหล่านั้นได้
ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมศิลปกรและศาสตราจารย์ Wilhelm G. Solheim ได้เดินทางมาสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ได้มีการนำไปจารึกไปศึกษาตัวอักษร ณ ประเทศฝรั่งเศส และ ได้ทำรายงานการสำรวจบริเวณและนำเอาคำแปลศิลาจารึกมาพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2507 ได้ความว่าหลักหินนี้ “พราหมณ์” ได้ทำพิธีตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักกำหนดเขตของของพระภิกษุสงฆ์ศักราชที่มีอยู่ในจารึกประมาณได้ราว พ.ศ. 1154-1214 หรือไม่ก็ 1276 (Ibid, 181) การพบศิลาจารึกหลักนี้นับว่ามีประโยชน์มากเพราะเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันกับเสมาหินที่พบในบริเวณเดียวกัน ในเรื่องของอายุอย่างไม่ต้องสงสัย ในเขตบ้านท่าไฮ ศาสตราจารย์ Solheim และคณะพบเสมาหินปักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบบริเวณหนึ่งซึ่งกว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร เสมาที่พบมีสองแบบ แบบแรกเป็นแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม กว้างราวด้านละ 40 เซนติเมตร และสูงราว 70-100 เซนติเมตร มีทั้งหมด 6 หลัก บางหลักมีรูปบัวสลักรอบฐา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น